งานชิ้นที่ 4



โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
เรื่อง สวนสมุนไพรในโรงเรียน

1. โครงการ สวนสมุนไพรในโรงเรียน
2. โครงการใหม่
3.หลักการและเหตุผล
การปลูกฝังให้คนไทยรู้จักดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอและสามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรงได้ด้วยตัวเอง จะสามารถช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่น  ลดค่ารักษาพยาบาล ลดความสูญเสียจากการเสียโอกาสในการทำงาน เป็นต้น การใช้พืชสมุนไพรอย่างถูกวิธีเป็นแนวทางหนึ่งในการดูแลสุขภาพที่ไม่ต้องลงทุนมาก เนื่องจากโรงเรียนเป็นแหล่งกระจายความรู้ไปสู่ชุมชนโดยผ่านนักเรียนซึ่งมาจากครอบครัวต่างๆ ดังนั้นการจัดทำสวนสมุนไพรในโรงเรียนโดยมีนักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบ ประกอบกับการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของสมุนไพรและวิธีใช้ที่ถูกต้องจะช่วยให้การใช้สมุนไพรในชุมชนเป็นไปอย่างกว้างขวางขึ้น
การปลูกสมุนไพรในโรงเรียน จะช่วยให้นักเรียนรู้จักการปลูกและบำรุงรักษาพืชด้วยปุ๋ยชีวภาพ เรียนรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรซึ่งสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของตนเองและคนในครอบครัว นอกจากนี้ในกระบวนการปลูกตลอดจนการดูแลพืชนักเรียนจะได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งยังได้ออกกำลังกาย ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ
การจัดทำสวนสมุนไพรในโครงการนี้จะเน้น การปลูกพืชสมุนไพรในสาธารณสุขมูลฐานเนื่องจากเป็นสมุนไพร ที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประเมินแล้วว่าสามารถนำมาใช้ได้อย่างปลอดภัยและบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นได้ดี นอกจากนี้สมุนไพรส่วนใหญ่สามารถปลูกได้ง่ายและไม่ต้องใช้เวลาในการดูแลรักษามาก นอกจากนี้สวนสมุนไพรที่จัดทำขึ้นยังใช้เป็นสื่อการสอนในวิชาต่างๆได้อีกด้วย


4.วัตถุประสงค์ของโครงการ
                1.  เพื่อรวบรวมพืชสมุนไพรและนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้เพื่อศึกษาประโยชน์ที่ได้จากสมุนไพร
              2.  เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับ นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
              3.  เพื่อสร้างความตระหนักในการรักและหวงแหนมรดกทางภูมิปัญญาโบราณในด้านการอนุรักษ์สมุนไพรไทยให้เกิดกับครู-อาจารย์  นักเรียน บุคลากรในโรงเรียน  ชุมชน ท้องถิ่น
              4.  เป็นแหล่งเรียนรู้ในด้านพืชสมุนไพร แก่นักเรียน  ครู อาจารย์  ชุมชน

5. เป้าหมาย
ด้านปริมาณ
1. มีผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย  50 คน
ด้านคุณภาพ
1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และสามารถนำไปประยุกต์และใช้ประโยชน์จากโครงการอยู่ในระดับดี
2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับดี

6. ระยะเวลาดำเนินการ
                เริ่มตั้งแต่วันที่  1 มิถุนายน  2555   ถึงวันที่  31  กันยายน  2555
               
7.วิธีการดำเนินโครงการ
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช  เรื่อง สวนสมุนไพรในโรงเรียน  มีวิธีการดำเนินโครงการดังนี้
ขั้นเตรียม
                1 ประชุมกลุ่มเพื่อตกลงหัวข้อโครงการและเสนอหัวข้อโครงการแก่ฝ่ายวิชาการ
                2 จัดประชุมคณะกรรมการวางแผนดำเนินงานโครงการฯ
                3. ติดต่อสถานที่ในการจัดโครงการฯ
               
ขั้นดำเนินโครงการ
1.  รับสมัครนักเรียนที่สนใจ
                2.  ให้ความรู้แก่นักเรียนในหัวข้อสมุนไพร
3. ให้นักเรียนหาพืชสมุนไพรในท้องถิ่นมาคนละ  ชนิด
4. เตรียมแปลงสำหรับเพาะปลูกพืชสมุนไพร
5. นำต้นกล้าที่เพาะเลี้ยงแล้วไปปลูกที่แปลงปลูก
6. ให้นักเรียนช่วยกันค้นคว้าชื่อวิทยาศาสตร์  สรรพคุณ  ประโยชน์ของพืชแต่ละชนิดมาติดที่แปลงปลูก
7. ให้สมาชิกในโครงการช่วยกันเผยแพร่ถึงสรรพคุณ  ประโยชน์  แก่นักเรียน  ครูอาจารย์  และผู้ปกครองในท้องถิ่น

ขั้นสรุปผล
                1.  ประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียนโดยใช้แบบสอบถาม
                2.  ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล
                3.  สรุปผลการดำเนินการ

8. งบประมาณ
                8.1 ค่าสแลม                         1300  บาท                                                            
                8.2 ปุ๋ยชีวภาพ                      700   บาท
                8.3 อื่นๆ                                1000  บาท

9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
                นางสาวสุนันทา  ศรีทอง
                นางสาวปิยวรรณ  ทองจีน
                นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี
               
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.  มีสวนสมุนไพรในโรงเรียน
              2.  นักเรียนมีความรู้เรื่องประโยชน์ของสมุนไพรมากขึ้น
              3.  สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับ นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
              4.  สร้างความตระหนักในการรักและหวงแหนมรดกทางภูมิปัญญาโบราณในด้านการอนุรักษ์สมุนไพรไทยให้เกิดกับครู-อาจารย์  นักเรียน บุคลากรในโรงเรียน  ชุมชน ท้องถิ่น
              5.  เป็นแหล่งเรียนรู้ในด้านพืชสมุนไพร แก่นักเรียน  ครู อาจารย์  ชุมชน




โครงการ  สวนสมุนไพรในโรงเรียน
กลุ่มบริหารงาน/กล่มงาน/กลุ่มสาระ  บริหารงานทั่วไป
ปีงบประมาณ  2555

ลงชื่อ                                                     ผู้เสนอโครงการ
        (นางสาวสุนันทา  ศรีทอง)
             29  พฤษภาคม  2555

ความเห็นของกลุ่มบริหารงบประมาณ/แผนงาน
                1. สอดคล้องกับจุดเน้นของ ผอ. ข้อที่ 1 – 5
                2. สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของ สพฐ. ที่  3, 4, 5, 6, 15
                3. สอดคล้องกับกรอบโรงเรียนยอดนิยมของ สพฐ. นศ. ที่  8, 12, 13

ลงชื่อ........................................
       (นายเชาว์  สังข์จันทร์)
............/............../...............

ความเห็นผู้อำนวยการ
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

อนุมัติ   ไม่อนุมัติ

ลงชื่อ...................................................
   (นายวิเชียร  วงศ์แก้ว)
          ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งสงวิทยา
............./............/..............








ประมวลภาพกิจกรรม











































โครงการส่งเสริมวิชาการ  “พืชสมุนไพรในโรงเรียน”
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลที่เกิดกับนักเรียน :  นักเรียนมีความรู้เรื่องประโยชน์ของสมุนไพร  ดังนี้
1.             สามารถรักษาโรคบางชนิดได้ โดยไม่ต้องใช้ยาแผนปัจจุบัน ซึ่งบางชนิดอาจมีราคาแพง และต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก อีกทั้งอาจหาซื้อได้ยากในท้องถิ่นนั้น
2.             ให้ผลการรักษาได้ดีใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน และให้ความปลอดภัยแก่ผู้ใช้มากกว่าแผนปัจจุบัน
3.             สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นเพราะส่วนใหญ่ได้จากพืชซึ่งมีอยู่ทั่วไปทั้งในเมืองและ ชนบท
4.             มีราคาถูก สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาแผนปัจจุบัน ที่ต้องสั่งซื้อจากต่าง ประเทศเป็นการลดการขาดดุลทางการค้า
5.             ใช้เป็นยาบำรุงรักษาให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง
6.             ใช้เป็นอาหารและปลูกเป็นพืชผักสวนครัวได้ เช่น กะเพรา โหระพา ขิง ข่า ตำลึง
7.             ใช้ในการถนอมอาหารเช่น ลูกจันทร์ ดอกจันทร์และกานพลู
8.             ใช้ปรุงแต่ง กลิ่น สี รส ของอาหาร เช่น ลูกจันทร์ ใช้ปรุงแต่งกลิ่นอาหารพวก ขนมปัง เนย ไส้กรอก แฮม เบคอน
9.             สามารถปลูกเป็นไม้ประดับอาคารสถานที่ต่าง ๆ ให้สวยงาม เช่น คูน ชุมเห็ดเทศ
10.      ใช้ปรุงเป็นเครื่องสำอางเพื่อเสริมความงาม เช่น ว่านหางจระเข้ ประคำดีควาย
11.      ใช้เป็นยาฆ่าแมลงในสวนผัก, ผลไม้ เช่น สะเดา ตะไคร้ หอม ยาสูบ
12.      เป็นพืชที่สามารถส่งออกทำรายได้ให้กับประเทศ เช่น กระวาน ขมิ้นชัน เร่ว
13.      เป็นการอนุรักษ์มรดกไทยให้ประชาชนในแต่ละท้องถิ่น รู้จักช่วยตนเองในการ นำพืชสมุนไพรในท้องถิ่นของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามแบบแผนโบราณ
14.      ทำให้คนเห็นคุณค่าและกลับมาดำเนินชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติยิ่งขึ้น
15.      ทำให้เกิดความภูมิใจในวัฒนธรรม และคุณค่าของความเป็นไทย
นอกจากนักเรียนได้ทราบถึงประโยชน์ดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น  สมุนไพรยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย
ผลที่เกิดกับผู้จัด  :  เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  สืบสานความรู้ที่ผู้ใหญ่ถ่ายทอดให้มาอย่างเป็นประโยชน์  รู้จักวิธีการถ่ายทอดความรู้อย่างถูกวิธี


ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2555




โครงการเพศศึกษา
เรื่อง   อดเปรี้ยวไว้กินหวาน

1. โครงการ ส่งเสริมวิชาการ เรื่อง  “ อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ”
2. โครงการใหม่
3. หลักการและเหตุผล
                ข้อมูลจากการสำรวจสถานการณ์เด็กในประเทศไทย Thailand Multiple Indicator Cluster Survey (MICS) ซึ่งเป็นโครงการสำรวจร่วมกันระหว่างสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และองค์การ UNICEF พบว่า ร้อยละของสตรีที่สมรสก่อนอายุ ๑๕ ปี มีร้อยละ ๓.๓ และสตรีที่สมรสก่อนอายุ ๑๘ ปี มีร้อยละ ๒๖.๖ (จากกลุ่มตัวอย่าง ๙๐๐ คน) ซึ่งเป็นปัญหาที่รุนแรงค่อนข้างมากในสถานศึกษา และสาเหตุของการออกกลางคันของนักเรียนส่วนหนึ่งมาจากการตั้งครรภ์ ทำให้ต้องลาออกเพื่อไปสมรส
                        ดังนั้น เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว  จึงได้จัดทำโครงการอดเปรี้ยวไว้กินหวาน เพื่อให้ความรู้ในเรื่องเพศศึกษา   ซึ่งจะทำให้เด็กและเยาวชนสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ และกลายเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติต่อไป                                         
4.วัตถุประสงค์ของโครงการ
                -      เพื่อป้องกันปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
                -      เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างถูกต้อง
                -      เพื่อลดความเสี่ยงของเยาวชนในเรื่องเพศ  และการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์

5. เป้าหมาย
ด้านปริมาณ
1. มีผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย  50  คน


ด้านคุณภาพ
1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และสามารถนำไปประยุกต์และใช้ประโยชน์จากโครงการอยู่ในระดับดี
2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับดี

6. ระยะเวลาดำเนินการ
                วันที่  15   ธันวาคม  2555  
               
7.วิธีการดำเนินโครงการ
โครงการเพศศึกษา  เรื่อง อดเปรี้ยวไว้กินหวาน  มีวิธีการดำเนินโครงการดังนี้
ขั้นเตรียม
                1. จัดประชุมคณะกรรมการวางแผนดำเนินงานโครงการฯ
                2. ติดต่อสถานที่ในการจัดโครงการฯ
               
ขั้นดำเนินโครงการ
1.  รับสมัครนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ
                2.  จัดทำเอกสารดำเนินโครงการ
3. ดำเนินการอบรม

ขั้นสรุปผล
                1.  ประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียนโดยใช้แบบสอบถาม
                2.  ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล
                3.  สรุปผลการดำเนินการ

8. ผู้รับผิดชอบโครงการ
                นางสาวสุนันทา  ศรีทอง
                นางสาวปิยวรรณ  ทองจีน
                นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี
               
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เด็กวัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง  และสามารถเรียนรู้วิธีการป้องกันตนเองได้
โครงการ  อบรมการใช้  GSP
กลุ่มบริหารงาน/กลุ่มงาน/กลุ่มสาระ  บริหารงานทั่วไป
ปีงบประมาณ  2555

ลงชื่อ                                                     ผู้เสนอโครงการ
        (นางสาวสุนันทา  ศรีทอง)
             6  ธันวาคม  2555

ความเห็นของกลุ่มบริหารงบประมาณ/แผนงาน
                1. สอดคล้องกับจุดเน้นของ ผอ. ข้อที่ 1
                2. สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของบ สพฐ. ที่  1, 3, 4, 5, 6, 10, 14, 15
               

ลงชื่อ........................................
       (นายพิศิษฐ์  ดำเกลี้ยง)
............/............../...............

ความเห็นผู้อำนวยการ
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

อนุมัติ   ไม่อนุมัติ

ลงชื่อ...................................................
   (นายวิเชียร  วงศ์แก้ว)
          ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งสงวิทยา
............./............/..............






โครงการเศรษฐกิจพอเพียง
เรื่อง   กินดี  อยู่ดี  ด้วยบัญชีรายรับรายจ่าย

1. โครงการ ส่งเสริมวิชาการ เรื่อง  “ กินดี  อยู่ดี  ด้วยบัญชีรายรับรายจ่าย ”
2. โครงการใหม่
3. หลักการและเหตุผล
                นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ  95  ครอบครัวประกอบอาชีพทางการเกษตร  ทำสวน  เลี้ยงสัตว์  แต่มาระยะหลังชาวนาส่วนใหญ่มีหนี้สินรุงรัง  อาจเนื่องจาก ความเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยที่อยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์   ความเจริญทางวัตถุและเทคโนโลยี  ทำให้ประชาชนรู้ไม่เท่าทัน ในยุคบริโภคนิยม   วิ่งตามความเจริญทางด้านวัตถุ   อยากมีเหมือนคนอื่น  ทำให้สุรุ่ยสุหร่าย   ใช้จ่ายฟุ่มเฟื่อย   ทำให้มีหนี้สินรุงรัง  ประกอบอาชีพไม่พอใช้จ่ายด้วยบุญของคนไทยที่มีพ่อหลวงพระราชทานปรัชญาแก่ประชาชนให้ดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง    โดยให้ยึดหลัก  ความพอประมาณ     ความมีเหตุผล หรือใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา   การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง  ครอบครัว  องค์กรและชุมชน   พื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งสามประการนั้น  สามารถนำมาประยุกต์ใช้เรื่องต่างๆได้เป็นอย่างดี  แม้แต่ในการประกอบอาชีพ  การดำรงชีวิต    หากประชาชนมีหลักเศรษฐกิจพอเพียง  รู้เข้าใจ  และดำเนินชีวิตอย่างรู้เท่าทัน  ทำให้เรารับมือกับโอกาสและความเสี่ยงในกระแสโลกาภิวัฒน์
                กลุ่มข้าพเจ้ามีความสนใจอยากทราบว่าถ้าดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพทำสวนตามแนวปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงของครอบครัว  ข้าพเจ้าทำให้มีรายรับรายจ่าย   ใช้เงินในการลงทุน   เหลือกำไรเท่าไร  มีวิธีการดำเนินงานอย่างไรของครอบครัวที่ไม่ทำให้เป็นหนี้สิน  เหลือเงินไว้ใช้จ่ายตลอดไป

 4.วัตถุประสงค์ของโครงการ
                -      ตอบสนองแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรัส
                -      เพื่อศึกษาวิธีการทำบัญชีรับ  -  จ่าย
                -      เพื่อศึกษาวิธีการอย่างไรถึงจะไม่เป็นหนี้สิน
                -      เพื่อให้นักเรียนรู้จักวางแผนการใช้จ่ายเงินอย่างถูกวิธี

5. เป้าหมาย
ด้านปริมาณ
1. มีผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย  50  คน
ด้านคุณภาพ
1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และสามารถนำไปประยุกต์และใช้ประโยชน์จากโครงการอยู่ในระดับดี
2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับดี

6. ระยะเวลาดำเนินการ
                วันที่  15   ธันวาคม  2555   -  15  กุมภาพันธ์  2556
               
7.วิธีการดำเนินโครงการ
โครงการ  เรื่อง กินดี  อยู่ดี  ด้วยบัญชีรายรับรายจ่าย  มีวิธีการดำเนินโครงการดังนี้
ขั้นเตรียม
                1. จัดประชุมคณะกรรมการวางแผนดำเนินงานโครงการฯ
                2. ติดต่อสถานที่ในการจัดโครงการฯ
               
ขั้นดำเนินโครงการ
1.  รับสมัครนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ
                2.  จัดทำเอกสารดำเนินโครงการ
3. ดำเนินการอบรม

ขั้นสรุปผล
                1.  ประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียนโดยใช้แบบสอบถาม
                2.  ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล
                3.  สรุปผลการดำเนินการ
8. ผู้รับผิดชอบโครงการ
                นางสาวสุนันทา  ศรีทอง
                นางสาวปิยวรรณ  ทองจีน
                นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี
               
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
นักเรียนโรงเรียนทุ่งสงวิทยามีเงินใช้จ่ายมากขึ้น  เก็บเงินไว้ใช้ในยามจำเป็น  รู้จักการทำบัญชีรายรับรายจ่าย




 โครงการ  เศรษฐกิจพอเพียง
กลุ่มบริหารงาน/กลุ่มงาน/กลุ่มสาระ  บริหารงานทั่วไป
ปีงบประมาณ  2555

ลงชื่อ                                                     ผู้เสนอโครงการ
        (นางสาวสุนันทา  ศรีทอง)
             20  ธันวาคม  2555

ความเห็นของกลุ่มบริหารงบประมาณ/แผนงาน
                1. สอดคล้องกับจุดเน้นของ ผอ. ข้อที่ 1
                2. สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของบ สพฐ. ที่  1, 3, 4, 5, 6, 10, 14, 15
               

ลงชื่อ........................................
       (นายพิศิษฐ์  ดำเกลี้ยง)
............/............../...............

ความเห็นผู้อำนวยการ
...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

อนุมัติ   ไม่อนุมัติ

ลงชื่อ...................................................
   (นายวิเชียร  วงศ์แก้ว)
          ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งสงวิทยา
............./............/..............










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น